ทำความรู้จักพิกัดกำลังเครื่องปั่นไฟ เพื่อการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสม
เครื่องปั่นไฟหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะถูกทำออกมาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานในแต่ละสถานที่มากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงมีการทำทั้งเครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่, ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่จะใช้กำลังไฟแตกต่างกันออกไป โดยขนาดใหญ่จะถูกใช้ภายในโรงไฟฟ้า ที่จำเป็นจะต้องใช้พลังงานสำหรับการหมุนเวียนเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง ส่วนเครื่องแบบขนาดกลาง จะเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น พร้อมไปด้วยขนาดเล็กที่จะเหมาะสำหรับบ้านเรือนหรือร้านค้า ร้านอาหาร ที่ไม่ใหญ่มาก ดังนั้นการมีพิกัดกำลังของเครื่องปั่นไฟถึงต่างกันออกไปอีกด้วย
เครื่องปั่นไฟ Denyo DCA60USI
พิกัดกำลังของเครื่องปั่นไฟตามมาตรฐาน
พิกัดกำลังของเครื่องปั่นไฟหรือ Power Racing Generator จะมาในรูปแบบของกำลังสุทธิการจ่ายให้กับการโหลดที่ขั้วต่อ โดยจะเป็นขั้วที่ส่งออกไปสู่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งจะไม่รวมกำลังที่จ่ายให้โหลดอยู่ภายในเครื่องปั่นไฟ พร้อมการกำหนดค่าให้เป็น kVA ที่ช่วงความถี่พิกัด หรือ Rated Frequency แล้วจะต้องมีค่าของกำลังประกอบอยู่ที่ 0.8 Lagging เว้นว่าจะมีกำหนดอื่น ๆ เข้ามาเป็นปัจจัยเพิ่มเติม โดยพิกัดกำลังของเครื่องปั่นไฟที่ตรงตามมาตรฐาน ISO 8525-1 ของปี 2018 จะถูกแบ่งออกเป็น 6 พิกัดด้วยกัน คือ
1.เครื่องพิกัดต่อเนื่อง
เครื่องพิกัดกำลังแบบต่อเนื่องหรือ Continuous Power และมีอีกชื่อหนึ่งคือ Base Load Power จะเหมาะสำหรับการใช้ กับเครื่องปั่นไฟแบบขนานเข้ากับระบบไฟฟ้าหลักโดยตรง จะเป็นการจ่ายให้โหลดแบบต่อเนื่อง 100% จึงสามารถให้พิกัดของกำลังอย่างสมบูรณ์แบบและทำงานต่อเนื่อง ไม่มีข้อจำกัดเรื่องของเวลา เพราะทำได้ทั้งวันตลอดเวลา แต่จะต้องทำภายใต้เงื่อนไขของการดูแลและการทดสอบเสมอ การใช้งานและการบำรุงรักษาจะต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง รวมไปถึงเรื่องดำเนินการที่เกี่ยวกับข้อกำหนดต่าง ๆ ของผู้ใช้ที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้ โดยจะต้องศึกษาวิธีต่าง ๆ ในการดูแลเครื่องและการใช้งานจากทางผู้ผลิตมาอย่างชัดเจน เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด
2.เครื่องพิกัดพร้อมใช้
เครื่องพิกัดแบบกำลังพร้อมใช้หรือ Prime Power และมีตัวย่อคือ PRP โดยจะเป็นพิกัดกำลังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสูงสุด จะจ่ายโหลดไฟได้อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ส่วนมากใช้ในกรณีที่มีไฟฟ้าหลักขัดข้อง หรือมีการกระจ่ายกระแสไฟฟ้าแบบขาดตอน สามารถใช้งานในพื้นที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าเลยได้ และจะจ่ายโหลดได้ต่อเนื่องไม่จำกัดเวลา ประเภทของการโหลดจะไม่คงที่หรือ Variable Load Applications จะให้ค่าเฉลี่ยของการโหลด Factor ที่ไม่เกินกว่า 70% ของช่วงพิกัดกำลัง โดยจะอนุญาตให้ใช้เกินกำลังพิกัดได้ไม่สูงกว่า 10% ต่อ 1 ชั่วโมง ในรอบของการใช้งานช่วง 12 ชั่วโมง ดังนั้นจึงควรต้องศึกษาเรื่องของการใช้งานและการโหลดเกินกำลังให้ดี ไม่เช่นนั้นอาจพาให้เกิดอันตรายได้
3.เครื่องพิกัดไม่จำกัดเวลา
เครื่องพิกัดกำลังไม่จำกัดเวลาหรือ Ultimate Running the Prime Power ชื่อย่อคือ ULTP จะเป็นการโหลดได้แบบต่อเนื่อง ไม่มีการจำกัดเวลา และเป็นการโหลดแบบไม่คงที่ ให้ค่าเฉลี่ยของการโหลด Factor ที่ไม่เกินกว่า 70% จากพิกัดกำลังทั้งหมด และเครื่องตัวนี้จะไม่มีการอนุญาตให้ใช้เกินกว่ากำลังพิกัดที่มีอยู่
4.เครื่องพิกัดแบบจำกัดเวลา
เครื่องพิกัดแบบจำกัดเวลา หรือ Limited Time Running Power ชื่อย่อคือ LTP จะมาในรูปแบบของพิกัดกำลังเครื่องปั่นไฟที่จ่ายไฟได้สูงสุดเต็ม 100% ของพิกัดกำลังทั้งหมด แต่ต้องใช้ภายในเวลาที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกกำหนดไว้ที่ไม่เกินปีละ 500 ชั่วโมง
5.เครื่องพิกัดสำรองฉุกเฉิน
พิกัดกำลังแบบเครื่องสำรองฉุกเฉินหรือ Emergency Standby Power ชื่อย่อ ESP จะเป็นเครื่องแบบจ่ายทดแทนกำลังไฟฟ้าหลักที่เสียหายหรือดับลงแบบกะทันหัน โดยเครื่องประเภทนี้จะไม่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าออกไปเกินกว่าพิกัดที่ถูกกำหนดไว้ภายในเครื่อง โดยจะถูกจำกัดเวลาไว้ที่ไม่เกินปีละ 200 ชั่วโมง
6.เครื่องพิกัด Data Center
เครื่องพิกัดกำลังแบบ Data Center หรือ Data Center Power DCP จะสามารถใช้งานในการสร้างกำลังไฟฟ้าได้ต่อเนื่องและไม่มีการจำกัดเวลา ซึ่งในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถใช้ได้เกินกว่าพิกัดสูงสุดที่ถูกกำหนดไว้อีกด้วย โดยผู้ผลิตเครื่องประเภทนี้จะต้องรับผิดชอบในการจัดเตรียมขนาดพิกัดกำลัง ให้รองรับต่อการโหลดได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และไม่อนุญาตให้ใช้เป็นเครื่องสำหรับการจ่ายพลังงานหลัก หรือทำเป็นคู่ขนานไปสู่การจ่ายไฟหลักในระยะเวลาที่นานเกินไป
สำหรับการใช้งานเครื่องปั่นไฟที่ไม่ว่าจะเป็นการใช้แค่ภายในบ้านเรือน งานด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่การใช้ภายในโรงงานไฟฟ้า จำเป็นอย่างมากที่จะต้องเลือกให้เหมาะสมและใช้พิกัดกำลังที่ตรงตามความต้องการ พร้อมได้มาตรฐานด้านการออกแบบและการติดตั้งอย่างครบถ้วน เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยต่อการใช้งานอย่างสูงสุด
0 Comments